มีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย

 

  • สถาบันครอบครัวไทยที่มีระบบความสัมพันธ์การดูแลเลี้ยงดู พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เกือบจะสูญหายไปในสังคมเศรษฐกิจปัจจุบัน คนสูงอายุถูกมองว่าเป็นภาระของครอบครัว กลายเป็นปัญหาของสังคมผู้สูงอายุ
  • หลายหน่วยงานพยากรณ์ไว้ว่า สังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ความเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” โดยจำนวนประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2563 จะมีผู้สูงอายุเกือบ 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26 ของคนวัยทำงาน หรือโดยภาพรวมระดับประเทศ ทุกๆ ครอบครัวที่มีคนวัยทำงาน 3 คน จะมีผู้สูงอายุ 1 คน แต่ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้น คนวัยทำงานที่จะมาดูแลค้ำจุนผู้สูงอายุก็กำลังลดจำนวนลดลง เพราะครอบครัวคนไทยนับวันจะเล็กลง เนื่องจากอัตราการเกิดลดลง มีการคุมกำเนิดมากขึ้น คนมีลูกน้อยลง
  • ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ จาก ทีดีอาร์ไอ ได้สรุปสถานการณ์เรื่องหลักประกันด้านรายได้สำหรับคนสูงอายุเอาไว้ว่า ในปี พ.ศ.2550 ประเทศไทยมีประชากรวัยทำงานประมาณ 44 ล้านคน มีเพียง 12 ล้านคนหรือไม่ถึงร้อยละ 30 ที่มีหลักประกันด้านรายได้เมื่อเกษียณอายุในระบบที่รัฐบาลดูแลจัดให้ ผู้ที่ไม่มีหลักประกันรายได้ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน ผู้ทำธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระทั่วไป ค้าขายทั่วไป หาบเร่แผงลอย รับจ้างทั่วไปและแรงงานภาคเกษตร
  • เมื่ออยู่ในวัยทำงาน คนเหล่านี้มีความผันผวนของรายได้สูง คือบางช่วงมีมาก บางช่วงรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นผู้สูงอายุยากจนคือ ผู้ที่มีการศึกษาน้อย
  • แม้ว่ามาตรา 53 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยระบุว่า “บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรีและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ”
  • แต่ระบบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปัจจุบันจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ผู้สูงอายุเกือบ 1.8 ล้านคน แต่การจัดสรรกลับขาดความเท่าเทียมกันในแต่ละจังหวัด เช่นผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลาได้รับเบี้ยยังชีพมีเพียงร้อยละ 10 จังหวัดนนทบุรีร้อยละ 11 จังหวัดบุรีรัมย์ร้อยละ 58 ขณะที่จังหวัดอำนาจเจริญมีผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพร้อยละ 78 แม้ว่าโดยภาพรวมคนในจังหวัดสงขลาจะร่ำรวยกว่าคนในจังหวัดอำนาจเจริญ แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่มีอะไรรับรองได้ว่าคนแก่และจนในจังหวัดสงขลาจะมีโอกาสในการได้รับเบี้ยยังชีพดีกว่าคนแก่แต่ไม่จนในจังหวัดอำนาจเจริญ การจัดสรรเงินระหว่างจังหวัดที่ไม่ทัดเทียมกันทำให้ผู้สูงอายุที่ยากจนในจังหวัดหนึ่งต้องเสียโอกาสให้แก่ผู้สูงอายุที่ฐานะดีกว่า แต่อยู่อีกจังหวัดหนึ่ง
  • ดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมและความทัดเทียม รัฐควรแก้ไข พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 (11) การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เปลี่ยนเป็น “หลักประกันด้านรายได้” (สิทธิสำหรับผู้สูงอายุทุกคนที่ขาดรายได้) และจัดตั้ง “กองทุนสวัสดิการเพื่อการชราภาพ” โดยให้กองทุน มีคณะกรรมการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง มีระบบตรวจสอบกำกับ ที่เข้มแข็ง โปร่งใส สำหรับที่มาของเงินกองทุนอาจมาจาก 3 แนวทาง คือ
  • ทางเลือกที่ 1 ผู้มีรายได้เพียงพอที่อายุเกิน 25 ปี ออมวันละ 3 บาท และจ่ายบำนาญแก่ผู้สูงอายุเดือนละ 600 บาท กองทุนจะมีเงินสะสมส่วนเกินเมื่อสัดส่วนผู้สูงอายุ 1 คน ต่อคนอายุ 25-65 ปี ไม่น้อยกว่า 6.7 คน (ใกล้เคียงกับปัจจุบัน) โดย อปท.ทุกแห่งรับผิดชอบการจัดเก็บทุกคนที่จ่ายจะมีสมุดบัญชีการออมของตนเอง
  • ทางเลือกที่ 2 กำหนดให้จัดเก็บเงินเข้ากองทุน จากภาษีทางอ้อมในระดับท้องถิ่น เช่น ภาษีจากสุรา ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ VAT ท้องถิ่น ในอัตราที่ได้เงินใกล้เคียงกับทางเลือกที่ 1
  • ทางเลือกที่ 3 รายรับของกองทุนมาจากแหล่งผสมของสองทางเลือกข้างต้น รวมถึงแหล่งรายได้อื่น
  • ทั้งนี้รัฐต้องค่อยๆ สมทบเงินเข้ากองทุนทุกๆ ปี เพื่อช่วยอุดหนุนกองทุนในอนาคต โดยตั้งเป้าหมายการสมทบเพียง 1 ใน 3 ของรายรับเงินกองทุน ซึ่งจะใกล้เคียงกับเงินเบี้ยยังชีพที่จ่ายให้กับผู้สูงอายุในปัจจุบันประมาณปีละกว่า 10,000 ล้านบาท อยู่แล้ว
  • หากผู้สูงอายุทุกคนมีหลักประกันรายได้ที่เท่าเทียมกันทั่วประเทศ กลุ่มผู้สูงอายุของไทยก็จะมีสุขภาพที่ยั่งยืน และมิใช่เป็นภาระของสถาบันครอบครัวไทย

การขาดการศึกษา ทำให้มีรายได้ต่ำ

            บทบาทและความสัมพันธ์แบบต่างฝ่ายต่างมีอิทธิพลต่อกันของการจัดการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม การจัดการศึกษาเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม ประเทศต้องจัดการศึกษาให้ทั่วถึง อย่างมีประสิทธิภาพ/คุณภาพ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถทักษะและเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้ประสบความสำเร็จได้

      การวิจัยของนักวิชาการที่เขียนให้กับวารสารขององค์กรกองเงินทุนระหว่างประเทศ (IMF) ยืนยันว่า การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ (คะแนนทักษะวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนสูง) มีผลอย่างมากในการทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของบางประเทศขยายตัวได้เพิ่มขึ้น การที่เศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบันยังมีปัญหามากนั้น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไทยที่ผ่านมายังจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประชาชนไทยส่วนใหญ่ได้ไม่ดีพอ ดังนั้นเราจึงต้องแก้ไขหรือปฏิรูปที่การศึกษาก่อน หรืออย่างน้อยทำพร้อม ๆ กันไปทั้ง 2 อย่าง ไม่ใช่เศรษฐกิจมาก่อน แล้วการศึกษามาทีหลัง อย่างที่รัฐบาลและชนชั้นนำของไทยมักชอบคิดแบบแยกส่วน

       รายงานเชิงวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ 3 ฉบับ มาสรุปและเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อเชื่อมโยงให้ผู้อ่านเห็นปฏิสัมพันธ์หรือการมีอิทธิพลต่อกันและกันระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการจัดการศึกษาในประเด็นที่สำคัญ เริ่มจากรายงานเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและประชากรกับผลกระทบต่อการศึกษาและผลิตภาพของแรงงาน ตามมาด้วย เรื่อง ปัญหาความยากจนกับผลกระทบต่อโอกาสในการได้รับการศึกษาของประชาชน และรายงานเรื่อง คุณภาพของแรงงานไทย หลังจากนั้นได้นำบทสรุปข้อเสนอแนะของนักวิจัยจากสกศ. ในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนไปพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในโลก เพื่อเชื่อมโยงจากเรื่องเศรษฐกิจสังคมกลับไปสู่เรื่องปัญหาการจัดการศึกษา และในตอนท้ายสุด เป็นการให้ความเห็นเพิ่มเติมของผู้วิจัย

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร

 

ผลกระทบจากการเพิ่มของประชากรในท้องถิ่น
การเพิ่มขึ้นของประชากรในแต่ละท้องถิ่น มีผลกระทบหลายประการ ดังนี้

๑. ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อประชากรมากขึ้น ย่อมมีความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นด้วย เช่น การขยายพื้นที่เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ใช้ไม้ในการก่อสร้างอาคาร ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น

๒. เกิดสภาพชุมชนแออัด ท้องถิ่นที่มีความเจริญสูง ประชากรจึงเข้าไปอาศัยอยู่มาก แต่ที่อยู่มีจำกัด จำเป็นต้องอยู่กันอย่างแออัด มีการแบ่งที่อยู่ อาหารการกิน สิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร

๓. เกิดการว่างงาน เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้แรงงานมีจำนวนมากขึ้นด้วย ถ้าไม่สามารถเตรียมงานไว้รองรับแรงงานที่เพิ่มขึ้นได้ จะเกิดปัญหาการว่างงานและการแข่งขันหางานทำมากขึ้น

๔. เกิดจากจราจรติดขัด จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร ทำให้การเดินทางสัญจรด้วยรถยนต์ต้องเพิ่มขึ้นด้วย แต่พื้นที่ถนนเพื่อการจราจรไม่สามารถรองรับได้ จึงทำให้เกิดปัญหาการจราจร และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ เกิดมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง

๕. คุณภาพชีวิตประชากร เมื่อจำนวนประชากรมากกว่าทรัพยากรและผลผลิตต่าง ๆ ตลอดจนการขาดแคลนกำลังทรัพย์ที่จะซื้อเครื่องอุปโภคอย่างเพียงพอผลที่ตามมา คือ การขาดอาหาร ขาดการบำรุงสุขภาพ ส่งผลให้ประชากรเป็นผู้ไม่มีคุณภาพทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

ปัญหาความยากจน

 

  • ปัญหาความยากจน (Poverty)คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และไม่สามารถจะบำบัดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนเป็นเหตุให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับมาตราฐานที่สังคมวางไว้หรือสภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สังคมวางไว้ ความยากจนขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละสังคม  ปัญหาเรื่องความยากจนเป็นปัญหาเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังจะเห็นได้จากคัมภีร์ไบเบิลที่เขียนไว้ว่า “For you always have the poor with you…” ปัญหาเรื่องความยากจนกำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา (developing countries) ซึ่งกล่าวว่ามีลักษณะสำคัญ ๔ ประการ คือ

๑. ความยากจน (Poverty)

๒. โรคภัยไข้เจ็บ (Illness)

๓. ความไม่รู้ (Ignorance)

๔. ความเฉื่อยชา (Inertia)